เอกลักษณ์ความลับกรุงเทพฯ
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56

Go down

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 Empty 10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56

ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Oct 17, 2013 1:24 pm

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 13409952
10. ถนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร
ประวัติ : อยู่ในท้องที่แขวงตลาดยอดและแขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร มีระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านพิภพลีลา ไปทางทิศตะวันออก ผ่านทางแยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และป้อมมหากาฬ สิ้นสุดที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2442 เพื่อเป็นที่เสด็จพระราชดำเนินระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต เพื่อความสง่างามของบ้านเมืองและเพื่อให้ประชาชนได้เดินเที่ยวพักผ่อน จึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนราชดำเนินให้กว้างที่สุด และให้สองฟากถนนเป็นที่ตั้งวังและสถานที่ราชการใหญ่ ๆ มิให้สร้างตึกแถวหรือร้านเล็ก ๆ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นย่านการค้า
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศรัตนโกสินทร์, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, วัดราชนัดดาราม, ป้อมมหากาฬ
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : ใกล้ที่สุดคือท่าเรือคลองแสนแสบสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 7952192
9. ถนนเพชรบุรี เขตดุสิต, เขตราชเทวี, เขตห้วยขวาง
ประวัติ : ถนนเพชรบุรีตัดใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505  ทำพิธีเปิดในปี พ.ศ. 2506  ที่ใช้ชื่อว่าเพชรบุรีตัดใหม่  เพราะก่อนหน้านั้นมีถนนเพชรบุรีซึ่งเริ่มจากสะพานยมราชถึงประตูน้ำ  เพชรบุรีตัดใหม่เป็นส่วนต่อขยายจากเพชรบุรีเดิม  คือจากประตูน้ำถึงคลองตัน (สุขุมวิท 71)
สถานที่ท่องเที่ยว : ชุมชนบ้านครัวเหนือ, วัดอุทัยธาราม
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : รถไฟใต้ดินสถานีเพชรบุรี, เรือคลองแสนแสบท่าประตูน้ำ, เรือคลองแสนแสบท่าชิดลม, เรือคลองแสนแสบท่าวิทยุ, เรือคลองแสนแสบท่านานาเหนือ, เรือคลองแสนแสบท่านานาชาติ, เรือคลองแสนแสบท่าอโศก, เรือคลองแสนแสบท่า มศว. ประสานมิตร, เรือคลองแสนแสบท่าอัลติไทย, เรือคลองแสนแสบท่าวัดใหม่ช่องลม, เรือคลองแสนแสบท่าซอยทองหล่อ, เรือคลองแสนแสบท่าชาญอิสระ

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 68138379
8. ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง เขตพญาไท เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตหลักสี่
ประวัติ : ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ซึ่งพระนามเดิมคือหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต พระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่บำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ได้ทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโดยเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่ จนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์ที่เสด็จถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพตักษัยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และรัฐบาลได้นำพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์"
สถานที่ท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑ์นักศึกษาวิชาทหาร, วัดดอนเมือง, วัดหลักสี่, ท่าอากาศยานดอนเมือง,
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : รถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 81289609
7. ถนนสาทรเหนือ เขตบางรัก
ประวัติ : ถนนสาทร เป็นเป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งได้เป็น 2 ฝั่งคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร ในอดีตถนนสาทรมีต้นก้ามปูอยู่ริมคลองสาทร ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน
สถานที่ท่องเที่ยว : ย่านบ้านเก่าริมถนนสาทร, ดับเบิลเอบุ๊คทาวเวอร์
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : รถไฟฟ้าสะพานตากสิน, สุรศักดิ์, ช่องนนทรี, บีอาร์ทีสถานีสาทร, รถไฟใต้ดินสถานีลุมพินี, ท่าเรือข้ามฝากและเรือด่วนเจ้าพระยาท่าสาทร

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 69371355
6. ถนนรามคำแหง เขตสวนหลวง เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง
ข้อมูล : จุดเริ่มต้นที่แยกคลองตันในพื้นที่เขตสวนหลวง ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแยกรามคำแหง (จุดตัดกับถนนพระราม 9) ผ่านแยกวัดเทพลีลา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ,การกีฬาแห่งประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในพื้นที่เขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางยกระดับช่วงตั้งแต่ซอยรามคำแหง 13 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จนถึงซอยรามคำแหง 81/4 สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ และวัดเทพลีลา
ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์
ถนนช่วงนี้เดิมชื่อว่าถนนสุขาภิบาล 3 มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพ่วงศิริ ผ่านแยกบ้านม้า (จุดตัดกับถนนศรีบูรพา) เข้าพื้นที่เขตสะพานสูง ตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก เข้าพื้นที่เขตมีนบุรี ผ่านแยกลาดบัวขาว (จุดตัดกับถนนมีนพัฒนา) และแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า (จุดตัดกับถนนร่มเกล้า) ไปสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า วัดศรีบุญเรือง วัดบางเพ็งใต้ โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี และ การเคหะมีนบุรี
สถานที่ท่องเที่ยว : คลองแสนแสบ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, วัดศรีบุญเรือง, วัดพระไกรสีห์ (วัดน้อย), พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ, วัดบางเพ็งใต้, ชุมชนสามัคคีคลองต้นนุ่น, โครงการพัฒนาส่วนพระองค์สะพานสูง ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กทม.
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : แอร์พอร์ตลิงก์รามคำแหง, เรือคลองแสนแสบท่าเดอะมอลล์ 3, เรือคลองแสนแสบท่ารามคำแหง 29, เรือคลองแสนแสบท่าวัดเทพลีลา, เรือคลองแสนแสบท่าม. รามคำแหง 53, เรือคลองแสนแสบท่าเรือสะพานมิตรภาพมหาดไทย, เรือคลองแสนแสบท่าเรือวัดกลาง, เรือคลองแสนแสบท่าเรือเดอะมอลล์บางกะปิ, เรือคลองแสนแสบท่าเรือบางกะปิ, เรือคลองแสนแสบท่าเรือวัดศรีบุญเรือง

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 4660590
5. ถนนพหลโยธิน เขตราชเทวี, เขตพญาไท, เขตจตุจักร, เขตบางเขน, เขตสายไหม, เขตดอนเมือง
ประวัติ : ถนนพหลโยธิน ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ก่อนหน้านี้ถนนพหลโยธินมีชื่อเดิมว่า "ถนนประชาธิปัตย์" ถนนพหลโยธินตอนแรกไปถึงดอนเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2479 แต่ได้ขยายต่อมาถึงจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 จากนั้นจึงขยายเส้นทางขึ้นไปเรื่อย ๆ ในที่สุดได้มีการรวมทางหลวงสายลำปาง-เชียงรายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของถนนพหลโยธินด้วย
สถานที่ท่องเที่ยว : ตลาดนัดสวนจตุจักร, สวนจตุจักร, พิพิธภัณฑ์เด็ก, พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5, อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, ศูนย์หัตถกรรมทองลงหิน, สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพฯ, พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : บีทีเอสสนามเป้า, บีทีเอสอารีย์, บีทีเอสสะพานควาย, บีทีเอสหมอชิต, รถไฟต้ดินพหลโยธิน, รถไฟใต้ดินกำแพงเพชร, รถไฟต้ดินจตุจักร

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 83781839
4. ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย เขตวัฒนา เขตพระโขนง เขตบางนา
ประวัติ : ถนนสายนี้แต่ก่อนมีชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เพราะปลายถนนนี้ไปถึงตัวเมืองสมุทรปราการ เปิดใช้งานเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาถนนสายนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท" ตามราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 และเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พระพิศาลสุขุมวิทได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสำคัญของประเทศเป็นอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราด ว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493
สถานที่ท่องเที่ยว : สวนเบญจสิริ วัดธาตุทอง, ท้องฟ้าจำลอง, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตพระโขนง, วัดบุญรอดธรรมาราม, วัดบางนาใน
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพลินจิต นานา อโศก พร้อมพงษ์ ทองหล่อ เอกมัย พระโขนง อ่อนนุช บางจาก ปุณณวิถี อุดมสุข บางนา และแบริ่ง

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 49923537
3. ถนนรัชดาภิเษก เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตดินแดง
ประวัติ : ถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลเรื่องพระราชพิธีรัชดาภิเษก (Silver Jubilee) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรเป็นครั้งแรก โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิ่มขึ้นเป็นถนนวงแหวนเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 ให้จัดสร้างถนนวงรอบขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 25 ปี ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 โดยรัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนวงรอบว่า "ถนนรัชดาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก ณ บริเวณเชิงสะพานกรุงเทพตัดกับถนนเจริญกรุงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2514 บริเวณแนวถนนตัดจากสะพานกรุงเทพผ่านถนนเจริญกรุงและต่อเชื่อมจนครบวงแหวน ปัจจุบันถือเป็นถนนวงแหวนรอบใน โดยมีถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) เป็นถนนวงแหวนรอบนอก ถนนวงแหวนรอบในส่วนที่ 1 เริ่มจากทางแยกท่าพระถึงถนนเพชรบุรี ส่วนที่ 2 จากถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร และมีพิธีเปิดถนนรัชดาภิเษกใน พ.ศ. 2519
สถานที่ท่องเที่ยว : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : รถไฟใต้ดินรัชดาภิเษก สุทธิสาร ห้วยขวาง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พระราม 9

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 46964046
2. ถนนพระราม 4 เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสาทร เขตคลองเตย เขตบางรัก เขตปทุมวัน
ประวัติ : ถนนพระรามที่ 4 เดิมเรียกว่า ถนนตรง และถนนหัวลำโพง (นอก) เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ร.4 ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 เนื่องจากกงสุลอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้เข้าชื่อกัน พร้อมทั้งนายห้างต่างประเทศ ขอร้องรัฐบาลสยามว่า เรือลูกค้าที่ขึ้นมาค้าขายถึงกรุงเทพมหานครมีระยะทางไกล ถึงหน้าน้ำน้ำเชี่ยวมาก กว่าจะเดินทางถึงกรุงเทพมหานครก็ใช้เวลาหลายวัน จะขอไปตั้งห้างซื้อขายใต้ปากคลองพระโขนง ตลอดถึงบางนา และขอให้รัฐบาลขุดคลองลัดตั้งแต่บางนามาตลอดถึงคลองผดุงกรุงเกษม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค ต่อมาคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์) ที่พระคลัง จ้างกรรมกรจีนขุดคลอง ตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบ ตัดทุ่งลงไปถึงคลองพระโขนง และตัดคลองพระโขนงออกไปทะลุแม่น้ำใหญ่ แล้วเอามูลดินมาถมเป็นถนนฝั่งเหนือตลอดลำคลอง พระราชทานชื่อว่าคลองถนนตรง ครั้นขุดคลองแล้วชาวยุโรปก็ไม่ได้ลงไปอยู่ที่บางนาโดยอ้างว่าไกล คลองถนนตรงนี้ชาวบ้านเรียกว่า คลองวัวลำพอง และเรียกถนนว่าถนนวัวลำพองหรือหัวลำโพงตามชื่อทุ่งนาที่ถนนและคลองตัดผ่าน
สถานที่ท่องเที่ยว : หัวลำโพง‎, วัดหัวลำโพง, สถานเสวภา, ตัดผ่นถนนสีลม, ตัดผ่านถนนสาทรมีย่านบ้านเก่า, สวนลุมพินี, อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6, ใกล้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, โรงงานยาสูบ, ตำหนักปลายเนิน
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง‎, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน‎, รถไฟใต้ดินสีลม, รถไฟใต้ดินลุมพินี, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตย‎, บีทีเอสพระโขนง, บีทีเอสศาลาแดง

10 อันดับ ถนนที่รถติดมากที่สุดระหว่าง เดือน ม.ค.-มิ.ย. 56 26911053
1. ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร, เขตห้วยขวาง, เขตวังทองหลาง, บางกะปิ
ข้อมูล : มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางในระยะสั้น ๆ เข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง ผ่านแยกถนนโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) ถนนลาดพร้าว 71 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลางกับเขตบางกะปิ ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยจากแยกนี้ไปจะเป็นถนนเสรีไทย
สถานที่ท่องเที่ยว : คลองแสนแสบ, พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), วัดลาดพร้าว ฯลฯ
การเดินทางที่หลีกเลี่ยงรถติด : สถานีรถไฟใต้ดินลาดพร้าว, พหลโยธิน, ท่าเรือคลองแสนแสบเดอะมอลล์บางกะปิ

ขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
th.wikipedia.org
www.manager.co.th
กูเกิ้ลกูรู และ กูเกิ้ลเอิร์ธ
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 486
Join date : 14/03/2012
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนที่ไม่มีรถเมล์

https://50secretsbkk.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ