เอกลักษณ์ความลับกรุงเทพฯ
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต

Go down

ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Empty ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต

ตั้งหัวข้อ  Admin Wed Mar 14, 2012 8:53 am

คำว่าบางกอกมาจากไหน?
ที่มาของคำว่าบางกอก บ้างว่ามาจากคำว่าบางเกาะ บางโคก เนื่องจากอาจมาจากที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก บ้างว่าในอดีตมีต้นมะกอกมาก บ้างว่ามาจากคำว่า Benkok ซึ่งเป็นภาษามลายู แปลตามตัวว่า คดโค้ง หรืองอ อ้างว่าแม่น้ำในบางกอกสมัยก่อนโน้นคดโค้งอ้อมมาก ชาวมลายูที่มาพบเห็นจึงพากันเรียกเช่นนั้น

* หมายเหตุ ถ้าเป็นตัวเอียงสีน้ำตาลแสดงว่า จขกท สันนิษฐานเอง
ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Biodiversity-129056-2
(ภาพต้นเตย)
1. คลองเตย : คำว่าคลองนั้นชื่อมาจากคลองอันเป็นสัญลักษณ์ท้องถิ่น สันนิฐานจากชื่อเรียกเป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง (ต้นเตย) ที่ขึ้นมากในบริเวณนั้น

2. คลองสาน : มีหลายข้อสันนิษฐาน บ้างว่ามาจากคำว่าประสานเพราะว่ามีคลองหลายสายไหลมารวมกัน บ้างว่าเคยมีศาลเจ้าเล็กๆ อยู่ที่ปากคลอง และอีกที่มามาจากชื่อคลองสาน ซึ่งเป็นคลองที่แยกออกจากฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เขตคลองสาน เป็นคลองที่ขุดผ่านบริเวณบ้านของสมเด็จเจ้าพระยา 3 ท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เดิมทีเรียกว่า "คลองสามพระยา" เพื่อใช้ในการสัญจรทางน้ำ ต่อมาเรียกกันเพี้ยนไปจนเป็น คลองสาน ลำคลองเรียบกับถนนสมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันผ่านหน้าวัดพิชัยญาติลอดผ่านถนนประชาธิป ผ่านข้างมหาวิทลัยราชภัฏธนบุรี และ มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และตัดผ่านทะลุออกคลองบางหลวง (บางกอกใหญ่)

3. คลองสามวา : มาจากชื่อคลองสามวา ซึ่งเป็นคลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองแสนแสบ กับคลอง 6 วา โดยกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ (เจ้าชายทวีถวัลย์ลาภ) พระราชโอรสของ ร .4 กับเจ้าจอมมารดาตลับ เป็นแม่กองควบคุมการขุดขึ้นมีขนาดลึก 6 ศอก กว้าง 3 วา ซึ่งคลองสามวาหมายถึงคลองที่กว้างสามวานั่นเอง

4. คันนายาว : ในอดีตที่นี่ทำนาปลูกข้าวเยอะ เป็นแนวยาว

5. จตุจักร : เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง 4 รอบพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 ซึ่งท่านพระราชทานแก่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ตามพระราชประสงค์ ในปี พ.ศ 2518 และต่อมาได้กลายเป็นชื่อเขตซึ่งแยกตัวออกจากเขตบางเขนในปี พ.ศ. 2532

6. จอมทอง : มาจากชื่อวัดจอมทอง แต่ว่าบางทีก็เรียกว่าวัดเจ้าทอง บ้างก็ว่าวัดกองทองวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา นักวิชาการสันนิษฐานว่าสร้างในในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2199) ปัจจุบันชื่อว่าวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

7. ดอนเมือง : ดอนเมืองเป็นชื่อของสถานที่ที่ราบสูงที่น้ำท่วมไม่ถึง (ดอนหมายถึงสถานที่ที่พื้นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง ส่วนดอนหอยหลอดคนละความหมายของดอน ดอนหอยหลอดหมายถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ) อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดพระนคร ติดต่อกับทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เดิมเป็นพื้นที่ป่าสะแกและทุ่งนา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง รวมความหมายแล้วว่า ดอนเมืองหมายถึง เมืองที่น้ำท่วมไม่ถึง

8. ดินแดง : ในอดีตพื้นในเขตดินแดงส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งนา ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการสร้างทางด้วยดินลูกรังจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อรถวิ่งผ่านจึงเกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว ประชาชนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนดินแดง”

9. ดุสิต : มาจากชื่อพระราชวังดุสิต ซึ่งคำว่านั้นหมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นที่ 4 ในบรรดาสวรรค์ 6 ชั้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเป็นชื่อเรียกพระราชวัง ต่อมาก็กลายมาเป็นชื่อเขตในที่สุด

10. ตลิ่งชัน : เนื่องจากมีคลองมากและมีตลิ่งที่สูงชัน

11. ทวีวัฒนา : มาจากชื่อคลองทวีวัฒนา ซึ่งเป็นคลองสายแรกที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) เริ่มขุดในปี พ.ศ. 2421 เนื่องจากพระราชดำรัสของ ร.5 ว่า “... การขุดคลอง เพื่อจะให้เป็นที่มหาชนทั้งปวงได้ไปมาอาศัย และเป็นทางที่จะให้สินค้าได้บรรทุกไปมาได้สะดวก ซึ่งให้ผลแก่การเรือกสวนไร่นา ซึ่งได้เกิดทวีขึ้นในพระราชอาณาจักร เปนการอุดหนุนการเพาะปลูกในบ้านเมืองให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้น ...” ด้วยเหตุดังนี้ในบริเวณใกล้เคียงจึงเกิดคลองขุดใหม่ และพระราชทานชื่อคลองแห่งนี้ว่า “คลองทวีวัฒนา”

12. ทุ่งครุ : ความหมายของคำว่า " ทุ่งครุ " ตามพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 มิได้ให้ คำจำกัดความของคำว่า " ทุ่งครุ " ไว้เป็นการเฉพาะ แต่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า " ทุ่ง " กับ " ครุ " ไว้ว่า " ทุ่ง " หมายถึง ที่ราบโล่ง " ครุ " หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำรูปกลมๆ ยาชัน เมื่อนำความหมายของคำจำกัดความทั้งสองมารวมกัน น่าจะหมายถึง " พื้นที่ราบโล่ง ใช้สาน ภาชนะตักน้ำรูปกลมๆ ยาชัน" จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในอดีตท้องที่เขตทุ่งครุ เป็นที่ราบโล่ง ลุ่ม มีแหล่งน้ำหลายแห่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนและมีฝีมือทางการจักสาน

13. ธนบุรี : ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการสถาปนาเมืองบางกอกเป็นเมืองหน้าด่านนามว่า “ทณบุรีศรีมหาสมุทร” ธนบุรี นั้นแปลว่าเมืองแห่งทรัพย์สิน สันนิษฐานว่า เป็นเพราะว่าเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ เช่น เช่น ส้มบางมด มะพร้าว มะม่วง ทุเรียน ฯลฯ ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกเมืองนี้เป็นเมืองหลวงสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นเขตนี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของ กรุงธนบุรี ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวง จึงรักษาคำว่า “ธนบุรี” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าตากสิน

14. บางกอกน้อย : มาจากชื่อคลองบางกอกน้อย เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2065 สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงโปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คลองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน

15. บางกอกใหญ่ : มาจากชื่อคลองบางกอกใหญ่ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด เมื่อถึงปี พ.ศ. 2065 สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่
ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต 1456
16. บางกะปิ : บางกะปิ นั้น มาจากคำในภาษามลายูว่า "กัปปิยะ หรือ กะปิเยาะห์" ซึ่งหมายถึง "หมวกที่ใส่เพื่อทำละหมาด" เพราะในอดีต พื้นที่ในบริเวณนี้มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นคนใส่หมวกชนิดนี้โดยทั่วไป คนทั่วไปจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บางกัปปิยะ หรือ บางกะปิเยาะห์" ซึ่งหมายถึงย่านที่อยู่ของชาวมุสลิมนั่นเอง และต่อมาได้เรียกเพี้ยนให้สั้นเป็น บางกะปิ

17. บางขุนเทียน : มีคำบอกเล่าว่า บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อบางขุนเทียน มาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวง ที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง

18. บางเขน : อาจมาจากคำว่า บางเข็น เพราะคำว่า บาง แปลว่า น้ำหรือลำคลองที่ไหลผ่าน ส่วนคำว่าเข็นมาจาก เมื่อสมัยก่อน เขตบางเขน เป็นสถานที่ที่คนต้องเข็นเกวียนที่บรรทุกข้าวไปมาระหว่างทางลูกรัง จึงเรียกว่า บางเข็น จนปัจจุบันได้พูดกันจนผิดเพี้ยนกันมาเป็น บางเขน

ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Bangkholaem

19. บางคอแหลม :ชื่อบางคอแหลมมาจากลักษณะของแม่น้ำเจ้าพระยาโค้งอ้อมสันดอนจนมีลักษณะหัวแหลม มีการพบชื่อบางคอแหลมในโคลงนิราศฉะเชิงเทรา ที่กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงนิพนธ์ ในปี พ.ศ. 2369 ในสมัย ร.3 ว่า

“คอแหลมเล็งลับละห้อน
หวนโหย ใจเอย
เจ็บอกจากอรโอย
โอษฐ์อ้อน
คอแหลมล่วงแหลมโดย ดูมืดแล้วแม่
แหลมเล่ห์เหล็กแหลมย้อน
ยอกต้องตนเรียมฯ”



20. บางแค : "บางแค" มาจากคำว่า "บาง" หมายถึงทางนํ้าเล็ก ๆ หรือทางนํ้าที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้าลำคลองหรือทะเล และยังหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า "แค" นั้น ในสมัยก่อนอาจมีชาวบ้านชาวสวนปลูกต้นแคไว้เป็นจำนวนมาก หรืออาจเป็นเพราะว่าในอดีตมีต้นแคขึ้นอยู่ทั่วไปในท้องที่นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันสำนักงานเขตบางแคจึงได้มีนโยบายปลูกต้นแคตามโครงการสร้างเอกลักษณ์เมืองด้วย

21. บางซื่อ : มีเรื่องเล่าอยู่ว่า พระเจ้าอู่ทองพาข้าราชบริพารอพยพโยกย้ายหนีโรคห่ามาจากแดนไกล ผ่านมาทางดอนเมือง พระเจ้าอู่ทองขนทองคำใส่เรือชะล่าเข็นมาตามคลอง แต่ด้วยสภาพคลองตื้นเขินมาก เมื่อถึงช่วงน้ำลง น้ำในคลองจะแห้งขอด เรือที่เคยพายได้ก็ต้องเข็นจึงสันนิษฐานกันว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไปคำว่า “ ทองเข็น ” หรือ “ คลองเข็น ” ก็เพี้ยนมาเป็น บางเขน ท้าวอู่ทองให้คนเข็นเรือบรรทุกทองไปถึงสถานที่หนึ่งเอาทองคำซ่อนไว้ ต่อมาภายหลังจึงเรียกบริเวณนั้นว่า บางซ่อน ซึ่งสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก ทองซ่อน และยังเล่าอีกว่าใกล้ๆ บางซ่อนมีชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งคนในชุมชนมีความซื่อสัตย์ ใครถามเรื่องใดก็ตอบตามความจริง เมื่อมีคนถามว่าพระเจ้าอู่ทองนำทองซ่อนไว้ที่ไหน ชาวบ้านก็บอกว่าทองซุกซ่อนไว้ที่บางซ่อน คนทั่วไปเห็นว่าชาวบ้านกลุ่มนี้มีความซื่อสัตย์จึงเรียกสถานที่ที่ชาวบ้านกลุ่มนี้อยู่ว่า บางซื่อ และกลายเป็นที่มาของบางซื่อในที่สุด

22. บางนา : ในอดีตมีการพื้นที่การทำนาที่กว้างขวาง

23. บางบอน : มาจากชื่อคลองบางบอน มีปรากฏในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ว่า

“ถึงบางบอนบอนที่นี่มีแต่ชื่อ เขาเลื่องลือบอนข้างบางยี่ขัน
อันบอนต้นบอนน้ำตาลย่อมหวานมัน แต่ปากคันแก้ไขมิใคร่ฟังฯ”


อาจเป็นไปได้ว่าในอดีตคลองบางบอนอาจจะมีต้นบอนเยอะก็เป็นไปได้

24. บางพลัด : มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชื่อบางพลัดว่ามาจากคำว่า “บางพลัดถิ่น” เล่ากันว่า มีผู้คนหนีมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้นเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และมีผู้คน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่
ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Yangrak02
(ภาพต้นรัก)
บางรัก : มีการสันนิษฐานที่มาไว้หลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อแรกที่ว่าบริเวณเขตบางรักนี้เคยมีคลองเล็กๆ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้พบซุงไม้รักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่าบางรัก หรืออีกกระแสหนึ่งที่เชื่อว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ บ้างก็ว่าชื่อบางรักนั้นมาจากบ้างว่า เดิมเขตบางรักในอดีตเรียกกันว่าคลองบางขวางล่างใต้ เป็นย่านที่มีคนมากมายหลากหลายอาชีพทั้งกะลาสีลูกเรือฝรั่งต่างชาติอยู่รวมกัน เป็นแหล่งกินแหล่งเที่ยวที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่าบางรักแทนชื่อเดิม
ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Kum2
(ภาพตัวอย่างของต้นกุ่ม)
25. บึงกุ่ม : เนื่องจากบริเวณหน้าสำนักงานเขตมีบึงขนาดใหญ่ ชื่อว่า "บึงกุ่ม" เป็นบึงที่กรุงเทพมหานครขุดเพื่อให้เป็นบึงรับน้ำและส่วนหนึ่งเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนสาธารณะแห่งนี้มี "ต้นกุ่ม" เป็นจำนวนมาก  ดังนั้นเมื่อมีการจัดตั้งเขตจึงใช้ชื่อว่า "เขตบึงกุ่ม"

ปทุมวัน : ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรดฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน

ประเวศ : มาจากชื่อคลองประเวศบุรีรมย์ เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง ผู้ที่ได้รับมอบหมายในการเป็นแม่กองควบคุมชาวจีนขุดคลองประเวศบุรีรมย์คือ “พระยาประเวศบุรีรมย์”

ป้อมปราบศัตรูพ่าย : ชื่อเขต "ป้อมปราบศัตรูพ่าย" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน ใกล้สะพานนพวงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่นๆ

พญาไท : มาจากชื่อถนนพญาไท ซึ่งถนนพญาไทสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)  ปรากฏว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนพญาไท" เนื่องจากเป็นถนนที่มาออกที่สวนตำบลพญาไท “อีกไนยหนึ่งให้ความว่าเป็นถนนที่พระราม 4 เป็นไท ฤๅพระราชาของไท”

พระโขนง : ที่มาของพระโขนง ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีผู้ให้ข้อคำจำกัดความถึงที่มาของคำว่า พระโขนง ดังนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เขียนไว้ในสารจากผู้อาวุโส ในหนังสือการประชุมใหญ่สภาวัฒนธรรมเขตพระโขนงว่า “..คำ พระโขนง เป็นคำจากภาษาเขมร แปลว่า คิ้ว หน้าตาของกรุงเทพพระนคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ นั้นว่าเป็นเมือง ของเทวดา หรือ อมร แปลว่า ไม่ตาย … อำเภอพระโขนง เดิมเป็นอำเภอใหญ่มาก ปัจจุบันถูกริดรอน ลงมาก ซึ่งเดิมเป็น  คิ้ว ของหน้าของพวกอมร กลับมาเป็นเพียงเส้นคิ้วที่วาดด้วยดินสอเท่านั้น เหมือน คิ้วของนางแบบ ถัดจากคำว่า พระโขนง มีคำว่า สำโรง และคำว่า บางนางเกร็งของสมุทรปราการ ซึ่งล้วน เป็นภาษาเขมรทั้งสิ้น…” นายสุรพล วัฒนธรรม มีข้อคิดเห็นว่า  คำว่า “โขนง” เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ขนอน” แปลว่า ด่าน มีความหมายเดียวกับ คำว่า “ปะแดง” หรือ “บาแดง” ซึ่งแปลว่า “คนเดินหมาย คนนำข่าวสาร”  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ “ด่านใต้”  เมืองหน้าด่านทางทะเล   มีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ตรวจตราผู้คนและสิ่งของต้องห้าม … คำว่า นนทรี แปลว่า ด่านใต้ เช่นกัน…”

พระนคร : เนื่องจากเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังจึงได้ชื่อว่าเขตพระนคร ซึ่งหมายถึงเมืองหลวงนั่นเอง

ภาษีเจริญ : ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ “คลองภาษีเจริญ” ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองนั้นตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

มีนบุรี : มีนบุรีมีความหมาย "เมืองปลา" เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2445 โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า "เมืองข้าว"

ยานนาวา : เมื่อก่อนชื่อว่า “บ้านทะวาย” ซึ่งรวมเขตสาทรและบางคอแหลมอยู่ด้วย ต่อมาในสมัย ร.7 เปลี่ยนมาเป็นอำเภอยานนาวาโดยอาศัยชื่อวัดยานนาวาซึ่งเป็นวัดที่มีเรือสำเภาจำลองขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นในสมัย ร.3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 มีการแยกเขตออกมาเป็นสาทร บางคอแหลม และยานนาวา แต่ทว่าวัดยานนาวาปัจจุบันไปอยู่ในพื้นที่ของเขตสาทรแล้ว

ราชเทวี : ชื่อเขตตั้งตาม สี่แยกราชเทวี ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยคำว่า ราชเทวี นั้นมาจากชื่อสะพานข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ที่ตั้งชื่อตามพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ว่า สะพานพระราชเทวี

ราษฎร์บูรณะ : ความหมายของชื่อเขตที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มาจากคำว่า "ราษฎร์" + "บูรณะ"    มาเป็น "ราษฎร์บูรณะ" ตามพจนานุกรม "ราษฎร์" แปลว่า "พลเมืองของประเทศ" หรือ "แว่นแคว้นบ้านเมือง" "บูรณะ" แปลว่า "ทำให้เต็ม ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม" เมื่อนำมาสมาสรวมกันเป็น "ราษฎร์บูรณะ" จึงมีความหมายได้เป็นสองนัย คือ พลเมืองของประเทศช่วยกันสร้างขึ้นหรือรวบรวมกันตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน อำเภอหนึ่ง และอีกนัยหนึ่งมีความหมายว่า เป็นเมืองที่ราษฎรช่วยกันค้ำจุนส่งเสริม และบำรุงรักษาทุกวิถีทางที่จะให้เป็นเมืองที่มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นสมกับเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และให้มีความเจริญเท่าเทียมกับเขตอื่น

ลาดกระบัง : มีข้อสันนิษฐานถึงคำว่า "ลาดกระบัง" ว่า น่าจะมาจากชื่อเรียกเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่มีลักษณะเหมือนร่างแหรูปกรวย แหลมที่เรียกว่า "กระบัง" เพราะในบริเวณนี้มีคูคลองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำหลากชนิด ชาวบ้านจึงนิยมใช้กระบังกั้นทางน้ำไหลบังคับให้ปลาเข้าไปติดในร่างแหนั้น จนเป็นที่มาของชื่อลาดกระบัง หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า แต่เดิมบริเวณนี้เป็นเขตรกทึบมีสัตว์ป่าอาศัย ทั้งช้างทั้งเสือใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาเสมอจนทำให้พื้นดินพังทลาย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ลาดพัง ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นลาดกระบังนั่นเอง

ลาดพร้าว : ในอดีตเขตลาดพร้าวอาจจะเป็นที่ลาดมีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่เยอะ และในปัจจุบันเขตลาดพร้าวมีต้นไม้ประจำเขตคือต้นมะพร้าว

วังทองหลาง  : ในอดีตมีต้นทองหลางขึ้นอยู่บริเวณลำคลองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งที่ดินส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้คนจึงเรียกพื้นที่ย่านนี้ว่า “วังทองหลาง”

วัฒนา : วัฒนา นั้น เป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ซึ่งวัฒนาแปลว่า ความเจริญ ความงอกงาม

สวนหลวง : เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร โดยตำบลสวนหลวงอยู่ในเขตสุขาภิบาลประเวศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และในปีถัดมาจึงได้รับการโอนเข้าไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพ ส่วนที่มาของชื่อเขตสวนหลวงนั้น ไม่มีชื่อเดิม แต่ถูกตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ เพื่อความไพเราะเท่านั้น นอกจากนี้คำว่า “สวนหลวง” ยังสามารถพบได้ในหลายท้องที่ของประเทศไทยอีกด้วย

สะพานสูง : เขตสะพานสูงเป็นท้องที่ที่มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย คลองที่มีความสำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า คลองวังใหญ่ คลองลาดบัวขาว เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมีการสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั้งสองฝั่งคลองเหล่านั้นสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องจากการเดินทางทางน้ำมีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้เพื่อให้เรือทุกขนาดสามารถลอดผ่านไปได้สะดวก สะพานลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่มาของคำว่า "สะพานสูง"

สัมพันธวงศ์ : ชื่อเขตสัมพันธ์วงศ์เดิมชื่อว่า อำเภอสำเพ็ง ส่วนชื่อเขตสัมพันธวงศ์ ได้ชื่อมาจากวัดชื่อนี้ วัดสัมพันธวงศ์ เดิมชื่อวัดเกาะ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา มีคลองคูล้อมรอบวัดเชื่อมต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกว่า วัดเกาะ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ.2339 พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จุ้ย) พระโอรสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารัตน์ (แก้ว) และเจ้าขรัวเงิน (ต้นราชสกุล มนตรีกุล) ทรงศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์พระอารมใหม่ทั้งหมด เมื่อเสร็จแล้วน้อมเกล้าถวายฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเกาะแก้วลังการาม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารัตน์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า แก้ว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามวัดเกาะแก้วลังการาม เป็นวัดสัมพันธวงศาราม เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระสัมพันธวงศ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี เพราะสมเด็จพระราชชนนี (กรมสมเด็จพระสุริเยนทรามาตย์) ทรงเป็นพระเชษฐภคนีของเจ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี จึงนับว่า สัมพันธวงศ์กัน)

สาทร : ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงชื่อ "เขตสาธร" เป็น เขตสาทร เนื่องจากคำว่าสาธรไม่มีความหมายในพจนานุกรม ส่วนคำว่าสาทรมีความหมายว่า เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ "หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)" ขุนนางและคหบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขุดคลองสาทร (เดิมชื่อคลองเจ้าสัวยม) อันเป็นที่มาของชื่อเขต ดังนั้นชื่อเขตสาธร คลองสาธร ถนนสาธรเหนือ ถนนสาธรใต้ และซอยย่อยของถนนสาธร จึงต้องเขียนเป็น "สาทร" ทั้งหมด

สายไหม : ที่มาของชื่อเขตสายไหม ไม่ได้มาจากเส้นไหมหรือชื่อขนมสายไหมเลย แต่มาจากชื่อวัดสายไหมซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอลำลูกลา จังหวัดปทุมธานี และเขตสายไหมเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปทุมธานีก่อนจะมาเป็นเขตในกรุงเทพมหานคร วัดสายไหมเขตสายไหม โดยมีคลองหกวาเป็นเขตแนวกั้นระหว่างจังหวัดปทุมธานี กับ กรุงเทพมหานคร มีคำเล่าลือจากคนเก่าคนแก่มาว่า ในอดีต คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2453 บริเวณนี้เป็นทุ่งกว้างใหญ่ มีชื่อว่า “ทุ่งหลวง” พื้นที่เป็นทุ่งหญ้า ป่ากก ป่าปรือ มีหนองน้ำกว้างใหญ่ ในฤดูฝนมีน้ำท่วมอยู่เต็มทุ่ง มีลำธารไหลผ่านทุ่งนี้ ไปบรรจบกับคลองบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในฤดูน้ำนี้ชาวบ้านบางตลาดใช้ลำธารสายนี้เป็นทางเดินเรือนำสินค้าไปขายจนถึงจังหวัดนครนายก ดังนั้นในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนสูงก็จะเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ ช้าง และนกนานาชนิด ส่วนในเป็นพื้นที่ลุ่มก็เป็นหนองน้ำ เป็นบึงที่กว้างใหญ่ เป็นรวมของพันธุ์ปลาหลากหลายชนิดจนถึงจระเข้ จึงนับได้ว่ามีปลาชุกชุมมาก (ปัจจุบันคือบริเวณที่เป็นหมู่บ้านสายไหม ถนนลำลูกกา) ชาวบ้านคลองบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จะพากันออกเดินทางแต่เช้าตรู่พร้อมด้วยเครื่องมือจับปลา มุ่งหน้ามายังทุ่งนี้เพื่อจับปลาเอาไปสะสมไว้เป็นอาหาร ครั้นเย็นลงก็พากันกลับบ้านพร้อมกับปลาเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีข่าวกระจายออกไป เมื่อใครรู้ข่าวเข้าก็อยากจะมาบ้าง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าไปถึงที่หาปลายนั้นน่ะ "สายไหม" จากคำถามที่ว่า สายไหม สายไหม นานๆ วันเข้าจึงกลายเป็นชื่อของทุ่งนี้ขึ้นมาใหม่ว่า "สายไหม"
ที่มาของชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ครบทั้ง 50 เขต Images?q=tbn:ANd9GcTOfesY-t66R8_7UQyh49yAWmCK66BuWvpay7fpHbWxplHIuue7HA
(ภาพต้นแขม)
หนองแขม : สภาพพื้นที่และที่มาของชื่อ “หนองแขม” ชื่อเขต “หนองแขม” สันนิษฐานว่ามาจากสภาพพื้นที่ในบริเวณที่ตั้งอำเภอหนองแขมในอดีต ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี และมีหนองน้ำที่มีต้นแขมขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ.2413 พระวินัยธร (คำ) เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้มาสร้างวัดขึ้นที่ริมหนองน้ำแห่งนี้และตั้งชื่อวัดว่า “วัดหนองแขม” ตามลักษณะของหนองน้ำ นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ขุดบ่อไว้ริมหนองน้ำแห่งนี้เพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ เรียกกันว่า “บ่อหนองแขม” จนกระทั่งเป็น “เขตหนองแขม” ในที่สุด

หนองจอก : ในอดีตเขตหนองจอกมีวัชพืชอย่างจอกเยอะ

หลักสี่ : ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ได้มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้นก็ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า "บ้านหลักสี่" ซึ่งชื่อหลักสี่นี้ ได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และสี่แยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตและถนนแจ้งวัฒนะ)

ห้วยขวาง : ในอดีตฤดูฝนของเขตนนี้เต็มไปด้วยบึงใหญ่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต้องเดินทางด้วยเรือ และมีห้วยขวางอยู่เสมอ

ขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
หนังสือแดนดินถิ่นไทยบ้านนามเมือง
เว็บไซต์สำนักงานของแต่ละเขต
artsmen.net
culture.bsru.ac.th
guru.google.co.th
mini4wdnik.tripod.com
mini4wdnik.tripod.com
office.bangkok.go.th
reurnthai.com
th.wikipedia.org
tmcms.tcdc.or.th
tree.lablae.com
watsaimai.org
www.biogang.net
www.bkkinside.com
www.edtguide.com
www.foodtravel.tv
www.kroobannok.com
www.mencafe.net
www.nwm.ac.th
www.oknation.net
www.panteethai.com
www.panyathai.or.th
www.rspg.org
www.sb.ac.th
www.siamwoodcarving.com
www.sujitwongthes.com
www.teakth.com
www.thaichubbear.com
www.thaitambon.com
www.watpantong.com
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 486
Join date : 14/03/2012
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนที่ไม่มีรถเมล์

https://50secretsbkk.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ